วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กีฬา วูซู(ไทเก็ก)

กีฬา วูซู



ประวัติความเป็นมา



อู่ซู่ หรือวูซู คือ ศิลปะการต่อสู้ของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณ ว่าด้วยการใช้วิธีการในการเข้าปะทะต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกระบวนยุทธ์และชั้นเชิงต่อสู้เป็นหลักในการฝึก และมีหลักศิลปะกายบริหารที่สืบทอดกันมา โดยมุ่ง เน้นการประสานพลังภายในและภายนอก ซึ่งเป็นจุดเด่นของวิทยาการวูซู


กีฬาวูซู เป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัยที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีนแต่โบราณกาล คำว่า “ วูซู ” แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ แต่ชาวจีนโพ้นทะเลที่นำวิชาวูซูไปเผยแพร่ในนามเรียกขานตามภาษาพื้นเมืองว่า “ กังฟู ” ประกอบกับประเทศจีนในยุคนั้นเป็นยุคปิดประเทศ ผู้คนทั่วไปจึงรู้จักวิชาวูซูภายใต้ชื่อเรียกขานว่า “ กังฟู ” ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) นอกจากนี้ วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชียอีกด้วย


ประเทศไทยได้รับอิทธิพลวิชาวูซู นับตั้งแต่ชาวจีนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยแต่ครั้งโบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน ชาวไทยจะรู้จักวิชาวูซูแต่เพียงการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น เนื้อหาสาระในทางลึกนั้น ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อวิชาวูซูได้รับการพัฒนาขู่ระบบกีฬาแล้ว วิชาวูซูในทางลึกก็ค่อยกระจ่างขึ้น



ประวัติการก่อตั้งสมาคมวูซู



วูซูเป็นกีฬาที่มีกำเนิดมาจากประเทศจีนนับพันปีมาแล้ว ในยุคนั้นมีการแสดงวิชาต่อสู้ด้วยมือเปล่าและการร่ายรำกระบองประกอบ ซึ่งต่อมาได้ผ่านการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพพลานามัย รวมทั้งช่วยฝึกพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทหาร


ความเปลี่ยนแปลงของกีฬาวูซูมีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยุคถังและซ้อง จนกระทั่งประเทศจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางด้านการเมือง จนถึงปีค.ศ.1928 รัฐบาลก๊กมินตั๋งได้สถาปนาองค์กรเกี่ยวกับวิทยายุทธ์ระดับชาติในปี 1928 และ 1933 ในปี 1936 จึงได้จัดคณะกีฬาวูซูลงมาโชว์ทางภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการจัดคณะวูซูเข้าร่วมแสดงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 11 ณ นครเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมนี


หลังจากมีการสถาปนารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว จึงมีการบัญญัติให้วูซูเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในระบอบสังคมนิยม ถึงปี 1955 จึงมีการก่อตั้งสมาคมวูซูแห่งปักกิ่ง และอีก 2 ปีต่อมาคณะกรรมการบริการกีฬาของจีนก็บัญญัติกติกาของกีฬาวูซูขึ้น


จนถึงปี 1982 ที่กรุงปักกิ่ง จัดให้มีการประชุมทั่วประเทศเป็นครั้งแรก และในปี 1985 จัดตั้งสหพันธ์วูซูนานาชาติขึ้นและปีต่อมาก็จัดมหกรรมกีฬาวูซูนานาชาติขึ้นที่โยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น และในเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง


ก่อนเป็นสมาคมวูซู ได้มีการจัดตั้งสถาบันวูซู-กังฟูขึ้น เพื่อให้การเผยแพร่วิชาวูซู(ซึ่งยังต้องใช้ชื่อเรียกว่ากังฟู) เป็นแห่งแรกของเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยอาจารย์บลู ดิษยบุตร และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสมาคมกีฬาวูซูในปี พ.ศ. 2529 และในเวลาต่อมา โดยการสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา วูซู ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
เพื่อให้การส่งเสริมพัฒนากีฬาวูซูภายในประเทศให้มีระดับมาตรฐาน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านวิทยาการวูซูแก่สโมสรสมาชิก เพื่อการพัฒนาสุขภาพพลานามัยแก่บุคคลทั่วไป ทั้งยังเป็นองค์กรบริหารกิจการกีฬาวูซูภายในประเทศ และเป็นผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวูซูในระดับซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์อีกด้วย



กติกา



-เริ่มจากค่าคะแนน 10 คะแนนแบ่งเป็น 3 ส่วน
* ท่าทางยุทธลีลา 6 คะแนน
* การประสานพลังยุทธต่อเนื่อง 2 คะแนน
* คุณสมบัติที่มี 6 ประการ 2 คะแนน


-การได้และเสียคะแนน


* ฝ่ายใดตกเวที 1 ครั้ง คู่ต่อสู้จะได้ 3 คะแนน
* เตะคู่ต่อสู้ถูกลำตัว 1 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
* เตะหน้าขาคู่ต่อสู้ 1 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
* ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกเตือน อีกฝ่ายจะได้ 1 คะแนน
* ถ้าเหวี่ยงล้มทั้งคู่ ฝ่ายล้มทีหลังจะได้ 1 คะแนน


การปรับให้แพ้ในหลายกรณีเช่น
1.ในแต่ละยกถ้าไม่กลับเข้าสู่สภาพพร้อมที่จะต่อสู้ภายใน 10 วินาที ก็จะปรับให้แพ้ทันที
2.แพ้เพราะฟาวล์
3.ถูกนับ 8 สองหน ปรับให้แพ้ในยกนั้น


การหยุดการแข่งขันชั่วคราวทำได้ต่อเมื่อ
1.นักกีฬาล้มลงหรือตกเวที , บาดเจ็บ
2.นักกีฬากอดกันนานเกินกว่า 2 วินาที
3.จรดท่าต่อสู้กันนานเกินกว่า 8 วินาที
4.จากเหตุอื่นๆ อีก



ท่ายาก



1.เหยียดขาตรงไปข้างหน้า 


2.สอดขาไปด้านหลังเท้าหลักที่ย่อเข่าลง


3.ถีบขาด้วยส้นเท้าเหยียบ


4.ทรงตัวถีบเท้าด้านข้าง


5.เหยียดขาข้างหนึ่งและพับอีกข้าง


6.กระโดดตบเท้าหน้า


7.เหวี่ยงเท้าออกตบ

8.ตบเท้าขาตึง

9.กระโดดหมุนตัวตบเท้าด้านนอก

10.กระโดดหมุนตัวตบเท้าด้านใน

11.กระโดดเตะหน้าผาก

คะแนนของท่ายาก

คะแนน 


รายละเอียด 


0.1 

-ถีบขาเหยียดไปข้าหน้าย่อเข่า + ยืนขาเดียวงอเข่ายกขึ้นหมุนตัว 180 องศา
-เหยียดขาตรงไปข้างหน้า + งอเข่าหมุนตัว 180 องศา 

0.2 

-เหยียดขาตรงไปข้างหน้า
-ถีบด้วยส้นเท้าเหยียดตรงไปข้างหน้า ย่อเข่า
-ทรงตัวถีบเท้าด้านข้าง
-กระโดดตบเท้าตรงหน้า

0.3 

-สอดขาไปด้านหลังเท้าหลัก
-กระโดดแตะหน้าผาก
-กระโดดหมุนตัวตบเท้าด้านใน 360 องศา
-กระโดดหมุนตัวตบเท้าด้านนอก 360 องศา 

0.4 

-ยกขาด้านข้างเหยียดตรงเหนือศีรษะ 

0.15 

-กระโดดเตะหน้าผาก + ลงพื้นเท้าเดียว
-กระโดดหมุนตัวตบเท้าตรงหน้า 180 องศา + ลงพื้นงอเข่ายกขึ้น 

0.20 

-กระโดดหมุนตัวตบเท้าด้าน 360 องศา + ลงสู่พื้นงอเข่ายกขึ้น 

ประโยชน์ของวูซู

ด้านร่างกาย

-กล้ามเนื้อ หัวแข็งแรง ทำให้การสูบฉีดเลือดได้ดี
-ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาตรของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
-ร่างกายมีความอดทน ไม่เหนื่อยง่าย
-ช่วยทำให้ผิวหนังแข็งแรง
-ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญและการขับถ่ายของเสีย
-ระบบโครงร่าง (กระดูก กระดูกอ่อน เอ็น และข้อต่อ) แข็งแรงขึ้น
-เซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ไขมันสลายตัวได้ดีขึ้น และระบบฮอร์โมนในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น


ด้านจิตใจ ทำให้จิตใจร่าเริง แจ่มใส เบิกบาน เกิดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเหตุผล มีสมาธิ มีความสุขุมรอบคอบ และมีความยุติธรรม


ด้านอารมณ์ มีอารมณ์เยือกเย็น ช่วยลดความเครียดจากชีวิตประจำวัน


ด้านสติปัญญา ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีไหวพริบ เกิดความคิดสร้างสรรค์


ด้านสังคม ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ง่าย บุคลิกภาพดี และมีความเป็นผู้นำ




ประเภทยุทธลีลา


การแข่งขันกีฬาประภทยุทธลีลา มีทั้งการแสดงแบบบุคคลเดี่ยว และแบบแสดงเป็นทีม โดยทำ
การแสดงบนสนามแข่งขัน ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 ประเภท ได้แก่
1. ฉางฉวน (มวยยาว) "มวยทางเหนือ 
2. หนานฉวน (มวยใต้)
3. ไท่จี๋ฉวน (มวยไท่เก๊ก)
4. เตาซู่ (ดาบ)
5. เจี้ยนซู่ (กระบี่)
6. หนานเตา (ดาบใต้) 
7. ไท่จี๋เจี้ยน (กระบี่ไท่เก๊ก) 
8. เชียงซู่ (ทวน)
9. กุ้นซู่ (ไม้พลอง)
10. หนานกุ้น (ไม้พลองใต้)
คะแนนเต็มของยุทธลีลาแต่ละประเภทมี 10 คะแนน โดยพิจารณาตามหลักเกณท์ต่อไปนี้
1. คุณสมบัติเพลงยุทธ (ท่าทาง) มีคะแนนเต็ม 6 คะแนน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของท่ามือ
ท่าเท้า และลำตัว รวมทั้งการเคลื่อนไหวของท่ามือ ท่าเท้า และลำตัว การเคลื่อนไหวของการใช้เท้า
(เตะ-ถีบ) ท่ากระโดด(โจนทะยาน)และคุณสมบัติการทรงตัว รวมถึงการประกอบอาวุธประเภทต่างๆ
2. พลังและความต่อเนื่องของเพลงยุทธ มี 2 คะแนนเต็ม โดยพิจารณาจากการแสดงพลังยุทธ ที่
ต้องมีความสอดคล้องต่อเนี่องกัน ตามหลักเกณท์ว่าด้วยเพลงยุทธประเภทนั้นๆ หากแสดงพลังยุทธ
ได้ไม่เข้าหลักเกณท์ จะถูกตัดไปตามส่วนที่ผิดหลักเกณท์นั้นๆ
3. นักกีฬาต้องแสดงเพลงยุทธให้เข้าหลักเกณท์ ทั้ง 6 ประสาน ได้แก่ อากัปกิริยา, รูปแบบของ
เพลงยุทธ, ขั้นตอนจังหวะ, สาระเพลงยุทธ, องค์ประกอบกระบวนยุทธ และขอบเขตกระบวนยุทธซึ่ง หากนักกีฬาสามารถแสดงคุณสมบัติ 6 ประสานได้อย่างยอดเยี่ยมจะได้ตะแนนเต็ม 2 คะแนน




ประเภททีม



ตุ้ยเลี่ยน (การต่อสู้ ที่โชว์ลีลาเทคนิคในรูปแบบกระบวนยุทธ) 


-การเชิดสิงโต


กีฬาการเชิดสิงโต
ทุกวันนี้ การเชิดสิงโตได้พัฒนากลายเป็นรูปแบบของการกีฬา ที่ผู้เชิดจากทั่วโลกมาแข่งขันกันเพื่อตัดสินความเป็นที่หนึ่ง


การเชิดสิงโตนำมาซึ่งการสอดประสานที่สมบูรณ์แบบ ความสง่างาม และความกล้าหาญ โดยทั่วไปแล้วคนเชิดทั้งสองจะต้องทำให้ "สิงโต" มีชีวิต คนหนึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนหัว ตา และปาก ส่วนอีกคนหนึ่งแสดงท่วงท่าของร่างกาย คนเชิดคนแรกที่ควบคุมส่วนหัวจะเป็นผู้ตัดสินการเคลื่อนไหว ในขณะที่คนที่สองจะต้องเคลื่อนไหวให้ประสานกับคนแรก


หัวสิงโตโดยทั่วไปแล้วเป็นงานปะกระดาษ (เปเปอร์มาเช) และไม้ไผ่ เข้ารูปเสร็จสมบูรณ์พร้อมกับดวงตาที่กะพริบได้ และปากที่หุบงับได้ ดังนั้น คนเชิดคนแรกจะต้องสามารถควบคุมให้เกิดความสอดประสานที่สมบูรณ์แบบพร้อมๆ กับรับน้ำหนักของหัวสิงโตไว้ด้วยมือของตัวเอง


การเคลื่อนไหวทุกท่วงท่าจะมีจังหวะของเสียงดนตรี ดนตรีจะเล่นไปตามการเคลื่อนไหวของสิงโต กลองจะตามสิงโต ในขณะที่ฉาบและฆ้องจะตามคนตีกลอง กลองสิงโตจะมีขนาดใหญ่มาก และถูกนำมาใช้เฉพาะในการเชิดสิงโตเท่านั้น



ประเภทประลองยุทธ



การแข่งขันวูซูประเภทต่อสู้ หรือประลองยุทธ แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล และประเภททีม
การใช้เทคนิคการต่อสู้
นักกีฬาสามารถใช้เทคนิคการต่สู้จากทุกสำนัก หรือเพลงยุทธสาขาวิชามวยจีน เพื่อทำการต่อสู้ ชิงชัย 
จุด ที่คู่ต่อสู้เข้ากระทำแล้วได้คะแนน 
ศรีษะ ลำตัว และช่วงล่าง (ตั้งแต่สะโพกลงไป)
จุดที่ห้ามกระทำคู่ต่อสู้
ท้ายทอย คอหอย อวัยวะเพศ
ท่าที่ต้องห้ามใช้ในการต่อสู้
1. ใช้ศรีษะ, ศอก, เข่า, ท่าหักข้อต่อในการจู่โจมคู่ต่อสู้ 
2. จับทุ่มโดยหันเอาศรีษะลงพื้น, และจงใจล้มกระแทกคู่ต่อสู้
3. ใช้ท่าเท้าที่ศรีษะขณะคู่ต่อสได้ล้มลงกับพื้นแล้ว
4. ใช้หมัดชกต่อเนื่องที่ศรีษะ





การจัดการแข่งขัน



กีฬาวูซูมีการจัดการแข่งขันตลอดทั้งปี

-การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ


เป็นการแข่งขันกีฬาที่จัดขึ้นทุกปีของประเทศไทย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับวงการกีฬาของชาติ โดยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติเริ่มต้นโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อการคัดเลือกตัวแทนไปแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 โดยใช้ชื่อว่า การแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย โดยแบ่งภาคการแข่งขันออกเป็น 5 เขตตามภูมิภาคต่างๆ โดยให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกๆปี


-การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ


องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) ในขณะนั้น หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ปัจจุบันได้นำนโยบายและวัตถุประสงค์ดังกล่าวไปสู่การดำเนินงาน จึงได้มีการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติขึ้นครั้งแรก ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2528 และได้จัดการแข่งขันติดต่อเรื่อยมาตามจังหวัดต่างๆ เป็นประจำทุกปี


-การแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ


เป็นการแข่งขันกีฬาของนักเรียนและนักศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งจัดโดยสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยจะทำการคัดเลือกจังหวัดเจ้าภาพเพื่อจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในระดับประเทศต่อไป โดยกำหนดไว้ว่าผู้ที่เข้าแข่งขันนั้นจะต้องเป็นนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษาใดๆ ก็ตาม รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียนด้วย ส่วนนักศึกษานั้นหมายถึงผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของสำนักงานการอาชีวศึกษา ไม่เกินระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช.



ท่าวอร์ม


1.วิ่ง 20 นาที

2.เตะขา

3.ตบเท้านอก

4.ตบเท้าใน

5.หม่าปู้ หรือ ท่าขี่ม้า

6.ท่านกกระเรียน

8.ตู๋ลี่ปู้-ท่ายืนขาเดียว

9.ฉีกขา

10.ยืดขาโดยการยกขาขึ้นบนต้นไม้ข้างหนึ่ง

11.จีเปิ่นโส่วฝ่า คือท่าหมัดตรง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการต่อยมวยจีน

12.แทงเข่า

13.การสปริงตัวโดยการฝึกตัวกระโดดให้สูงๆ



รำมวย 42 ท่า



จะมีด้วยกัน 42 ท่า เช่น


1.ลั่น เชี๊ยะ เหว่ย การเคลื่อนไหวต่อเนื่อง 4 ท่วงท่า


1.1 เผิง โส่ว ยกหลังแขนเป็นเส้นโค้งไปด้านหน้าให้ฝ่ามืออยู่ระดับไม่ต่ำกว่าอกและไม่สูงเกินปาก ยืนท่าเท้ายิงธนูไม่งอเข่าเกินปลายนิ้ว


1.2 หลูว โส่ว ดึงมือทั้งสองเป็นเส้นโค้งเข้าหาลำตัว ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าหลังด้วยการงอเข่าลำตัวยังคงตั้งตรง


1.3 จี๋ โส่ว ใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งประกอบเข้ากับฝ่ามืออีกข้างหนึ่งแล้วผลักหรือดันหลังมือออกไปไม่กว่าปลายนิ้วเท้า แยกฝ่ามือออกกว้างไม่เกินระดับหัวไหล่ ดึงแขนและฝ่ามือเข้าหาลำตัว เป็นเส้นโค้งพร้อมกับถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าหลังยกฝ่าเท้าหน้าด้วยการงอเข่า


1.4 อั้นโส่ว กดฝ่ามือทั้งสองข้างลงเป็นเส้นโค้ง แล้วผลักฝ่ามือทั้งสองข้างเป็นเส้นโค้งตรงไปข้างหน้าฝ่ามือแยกห่างกันกว้างไม่สูงเกินแนวปาก พรอมกับถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเทาหน้า และในท่ายิงธนู ไม่งอเข่าเกินกว่าปลายนิ้วเท้า


2.เหย หม่า เฟิน จง แขนยกเป็นเส้นโค้งให้หน้ามือไม่ต่ำกว่าไหล่และไม่สูงเกินดั้งจมูก ในท่าเท้ายิงธนู ไม่งอเกินกว่าปลายนิ้วเท้า เป็นต้น




รำกระบี่ 42 ท่า


รายละเอียดของท่าพื้นฐานการเคลื่อนไหวไท้จี๋เจี้ยน


1.ชื่อ เจี้ยน หงายแขนและกระบี่แทงจากลำตัวออกไปข้างหน้า แขนและกระบี่ต้องเป็นเส้นตรงเดียวกันให้ออกแรงไปยังส่วนปลายของกระบี่


2.กว้า เจี้ยน จ้วงกระบี่จากด้านซ้าย หรือขวาเป็นรูปวงกลม ให้ตัวกระบี่ด้านแบน(ที่ไม่คม)เฉียดผ่านลำตัวขณะจ้วงกระบี่ให้ออกแรงไปยังส่วนคมของตัวกระบี่


3.เหลียว เจี้ยน บิดแขนเข้าและออกทำให้โกร่งกระบี่ตั้งขึ้นหันด้านคมของกระบี่ขึ้น เหวี่ยงตัวกระบี่ทั้งซ้ายและขวาสลับเป็นเส้นโค้งให้ออกแรงไปยังส่วนคมของตัวกระบี่


4.เตี่ยน เจี้ยน ตั้งคมกระบี่ / โกร่งกระบี่ขึ้น ยกแขนกดข้อมือทำให้ปลายกระบี่กดต่ำลงสู่พื้น ให้ออกแรงไปยังส่วนปลายกระบี่


5.พี เจี้ยน ยกกระบี่ขึ้นแล้วกดลงมาด้วยหัวไหล่ แขนและกระบี่เป็นเส้นตรงเดียวกัน ให้ออกแรงไปยังตัวด้านคมกระบี่


6.เจี๋ย เจี้ยน ป้องกันและรุกแนวด้านบน และล้าง วาดกระบี่ให้ใช้ส่วนคมเคลื่อนที่ด้วยการขวางกระบี่ระดับสายตา และระดับต้นขา ให้ออกแรงไปยังตัวด้านคมของกระบี่


7.มอ เจี้ยน คว่ำ ตัวกระบี่ขนานพื้นไม่สูงเกินไหล่และไม่ต่ำกว่าท้องเหวี่ยงไปด้านหลังขณะเคลื่อนที่ให้ออกแรงไปยังตัวกระบี่




รำพัดกังฟู



การแสดงชุดรำพัดกังฟู เป็นการนำเอาศิลปะป้องกันตัวโดยใช้พัดและศิลปะการแสดงมาผสมผสานลงในท่าเต้น ทำให้ลีลาการแสดงนั้นมีความสง่างามแข็งแกร่งแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความอ่อนช้อย ในท่วงท่าทำนองของศิลปะการต่อสู้ด้วยท่ารำพัดกังฟูแบบจีน ชุดนี้เป็นชุดที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานหลายพันปี ซึ่งในระยะแรกก่อนที่จะนำมาดัดแปลงเป็นศิลปะการแสดง ประเทศจีนชาวฮั่นที่ได้ทำศึกสงครามและยังมีความชำนาญทางด้านการใช้อาวุธ ได้ใช้สิ่งของที่ติดตัวในยามที่อากาศร้อนนั้นก็คือพัดมาคิดค้นท่าที่เป็นศิลปะการต่อสู้ โดยนำมาผสมกับหมัดมวยและท่าเตะที่ทรงพลัง และภายหลังเมื่อจีนได้รวมเหล่าก๊กต่างๆสงครามได้สงบ ชนชาวฮั่นจึงได้นำมาอนุรักษ์เป็นศิลปะการแสดง อาจารย์ยู้จึงได้คิดค้นท่าประกอบการแสดงด้วยท่าจังหวะที่เร้าใจและทรงไว้ซึ่งความสวยงามทางการแสดง





รำมวย 24 ท่า


จะมีด้วยกัน 24 ท่า เช่น


1.โลว ซี อ้าว ปู้ ฝ่ามือข้างหนึ่งให้เหวี่ยงเป็นเส้นโค้งขนานพื้นจากด้านหน้าไปด้านข้างลำตัว ขณะงอเข่าให้พับแขนโดยใช้ปลายนิ้วอยู่ระดับหู วางขาอีกข้างด้วยส้นเท้าไปข้างหน้าสัมผัสพื้นด้วยขาที่เหยียดตึงแล้วถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าที่เหยียดยืนในท่ายิงธนู ไม่งอเข่าเกินกว่าปลายนิ้วเท้า และให้ผลักแขนที่พับออกไปข้างหน้าระดับไม่ต่ำกว่าอก ไม่เกินปาก


2.จั่ว ยอิ้ว ซัว เริ่มจากฝ่ามืออุ้มลูกบอล ยกฝ่ามือที่หงายจากด้านล่างขึ้นด้านบนเป็นเส้นโค้ง แล้วบิดฝ่ามือออกให้อยู่ลักษณะป้องแขนเหนือศีรษะ ฝ่ามืออีกข้างให้ดึงเข้าหาลำตัวบริเวณเอวแล้วผลักเป็นเส้นโค้งหน้า ต่ำกว่าเอวและไม่สูงเกินระดับตา ไม่ยกไหล่ ไม่เกร็งลำตัว และสะโพก


3.หยิ๋วน โส่ว บิดลำตัวลากแขนและฝ่ามือผ่านหน้า ฝ่ามือไม่ต่ำกว่าตา ลำตัวยังคงตั้งตรง


4.เยี้ยน โส่ว กง หมุนแขนรวมหมัดเข้าด้านใน แล้วชกหมัดตรงออกไปไม่ต่ำกว่าเอวและสูงเกินอก ให้ออกแรงไปยังหมัด ข้อมือและแขนเป็นเส้นตรง


5.เต้า เจวียน ฮง ก้าวถอยหลัง ลำตัวตั้งตรง ผลักฝ่ามือตรงไปข้างหน้าไม่ต่ำกว่าไหล่และไม่สูงเกินระดับตา เป็นต้น