วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นโยบายการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัด



นโยบายการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัด

1.แหล่งน้ำ (การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ)
มาตรการระยะสั้น
 จังหวัดมีนโยบายยึดถือภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมที่ประชาชนเคยกักเก็บน้ำให้เต็มเพื่อใช้ในฤดูแล้ง  จึงได้กำหนดแนวทางให้อำเภอหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น พยายามประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสร้างแหล่งน้ำในชุมชนเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ตอนฤดูแล้ง  โดยแนะนำให้จัดสร้างถังเก็บน้ำไว้ใต้ดินทุกครัวเรือนเพื่อกักเก็บน้ำ  จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง


มาตรการระยะยาว
รัฐบาลต้องลงทุนวางท่อเพื่อผันน้ำจากทะเลสาบกัมพูชามายังอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อเป็นน้ำต้นทุนส่งต่อยังพื้นที่ขาดแคลนน้ำภาคตะวันออก

2.ระบบ logistic (Public Transportation)
     เป็นกระบวนการวางแผน  การดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ  การเก็บรักษาสินค้า  บริการ  และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ  ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภค  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ซึ่งระบบ Logistic ที่ดีจะต้องมีต้นทุนโดยรวมของทุกขั้นตอนที่อยู่ในระดับต่ำ และรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
3.การกำจัดขยะด้วยกระบวนการทางความร้อนสูง พร้อมผลิตกระแสไฟฟ้า
     ด้วยจังหวัดชลบุรี  เป็นจังหวัดที่มีการขยายตัวการพัฒนาเศรษฐกิจ  ทั้งสาขาอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  การท่องเที่ยว  การบริการ  หมู่บ้านจัดสรร  โรงแรม  รีสอร์ท ฯลฯ  ปีหนึ่ง ๆ มากกว่า  5-10% ต่อเนื่องทุกปี เป็นเหตุให้มีประชาชนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาในเขตจังหวัดชลบุรี เพื่อทำการค้า การลงทุน หางานทำ มาท่องเที่ยว และซื้อบ้านอยู่อาศัย เป็นจำนวนมาก




แผนที่การเดินทาง






แผนที่การเดินทาง


 

ทางอากาศ

จังหวัดชลบุรีมีท่าอากาศยาน 2 แห่งคือ ท่าอากาศยานบางพระตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา เป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับเครื่องบินลำเล็ก จึงไม่ได้เปิดให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ของจังหวัดชลบุรี

ทางน้ำ

เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการขนส่งทางทะเล กล่าวคือด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นชายฝั่งที่มีแนวยาวระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยหลายแห่งเป็นชายหาดที่งดงาม และบางแห่งเหมาะจะเป็นท่าจอดเรือ ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของจังหวัดมีท่าเทียบเรือประมงและท่าเทียบเรือสินค้า ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนและท่าเทียบเรือพาณิชย์สำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าเลียบตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ

ทางรถไฟ

การขนส่งทางรถไฟของจังหวัดชลบุรีอาศัยเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อำเภอศรีราชา เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ทางรถยนต์

การขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบการคมนาคมสำคัญที่สุดของจังหวัดชลบุรี และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน โครงข่ายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยจังหวัดชลบุรีมีถนนที่สร้างเสร็จแล้วเป็นระยะทาง 745.497 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินรวมระยะทาง 745.497 กิโลเมตร และระยะทางต่อ 2 ช่องจราจรคิดเป็นระยะทาง 1,191.408 กิโลเมตร



สภาพทางกายภาพของจังหวัดชลบุรี



สภาพทางกายภาพของจังหวัดชลบุรี


          ลักษณะภูมิประเทศมีการผสมผสานกันมากถึง 5 แบบ  ทั้งที่ราบลูกคลื่นและเนินเขา  ที่ราบชายฝั่งทะเล  ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง  พื้นที่สูงชันและภูเขา  ที่ราบลูกคลื่นและเนินเขาของชลบุรี  พบได้ทางด้านตะวันออกของจังหวัด  ในเขตอำเภอบ้านบึง  พนัสนิคม  หนองใหญ่  ศรีราชา  บางละมุง  สัตหีบ  และบ่อทอง  พื้นที่นี้มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกระนาด  ปัจจุบันพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการปลูกมันสำปะหลัง  ที่ราบชายฝั่งทะเล  พบตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง  ถึงอำเภอสัตหีบ  เป็นที่ราบแคบๆชายฝั่งทะเล  มีภูเขาลูกเล็กๆ สลับเป็นบางตอน    พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง  มีลำน้ำคลองหลวง ต้นน้ำอยู่ที่อำเภอบ่อทองและอำเภอบ้านบึง  ผ่านพนัสนิคม  ไปบรรจบเป็นคลองพานทองไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกง  โดยดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์จากการพัดพาของแม่น้ำบางปะกงนี้เอง  ได้ก่อให้เกิดที่ราบลุ่มเหมาะสมต่อการเกษตรกรรม  ส่วน  พื้นที่สูงชันและภูเขา  นั้น  อยู่ตอนกลางและด้านตะวันออกของจังหวัด  ตั้งแต่อำเภอเมืองฯ  บ้านบึง  ศรีราชา  หนองใหญ่  และบ่อทอง  ที่อำเภอศรีราชานั้นเป็นต้นน้ำของอ่างเก็บน้ำบางพระ  แหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักแห่งหนึ่งของชลบุรี
          จังหวัดชลบุรีมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 160 กิโลเมตร  เว้าแหว่งคดโค้งสวยงาม  เกิดเป็นหน้าผาหิน  หาดทรายทอดยาว  ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ฯลฯ  ซึ่งอ่าวหลายแห่งสามารถพัฒนาไปเป็นท่าจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี  อาทิ  ท่าจอดเรือรบที่อำเภอสัตหีบ  เป็นต้น  สำหรับ เกาะ สำคัญๆมีอยู่ไม่น้อยกว่า 46 เกาะ  เช่น  เกาะสีชัง  เกาะค้างคาว  เกาะริ้น  เกาะไผ่  เกาะลอย  เกาะล้าน  เกาะครก  เกาะสาก  เกาะขาม  เกาะแสมสาร  และเกาะครามที่อยู่ในเขตทหารเรือของอำเภอสัตหีบ  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลเต่าทะเลที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ของไทย  เป็นต้น  โดยเกาะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นปราการธรรมชาติ  ช่วยป้องกันคลื่นลม  ทำให้ชลบุรีไม่ค่อยมีคลื่นขนาดใหญ่  ต่างจากจังหวัดระยอง  จันทบุรี  และตราด  ซึ่งมักมีคลื่นใหญ่กว่า   ด้วยเหตุนี้เองชายฝั่งของชลบุรีจึงเต็มไปด้วยท่าจอดเรือประมง  และเหมาะแก่การสร้างท่าจอดเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่  อาทิ  ท่าเรือแหลมฉบัง  เป็นต้น
ภูมิประเทศอันหลากหลายดังกล่าว  หล่อหลอมให้ชลบุรีสามารถพัฒนากิจกรรมต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร  อุตสาหกรรม  การพาณิชย์  การท่องเที่ยว  และการคมนาคมที่สะดวกสบาย




เขตการปกครอง



เขตการปกครอง


2.             อำเภอบ้านบึง
3.             อำเภอหนองใหญ่
4.             อำเภอบางละมุง
5.             อำเภอพานทอง
6.             อำเภอพนัสนิคม
7.             อำเภอศรีราชา
8.             อำเภอเกาะสีชัง
9.             อำเภอสัตหีบ








เสริม จากข้างบน
           จังหวัดชลบุรีแบ่งเขตการปกครองออกแบ่งเป็น  11 อำเภอ  92 ตำบล 687 หมู่บ้าน  การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย   องค์การบริหารส่วนจังหวัด   เทศบาลเมือง  8 แห่ง  เทศบาลตำบล  29  แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล  60  แห่ง  และมีรูปแบบการปกครองพิเศษ 1 แห่ง  คือ  เมืองพัทยา  แยกจากการปกครองของอำเภอบางละมุง  เนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับนานาชาติ  ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อำเภอทั้ง 11 ของจังหวัดชลบุรี  ได้แก่  อำเภอเมืองชลบุรี  อำเภอพนัสนิคม  อำเภอพานทอง  อำเภอบ้านบึง  อำเภอศรีราชา  อำเภอเกาะจันทร์  อำเภอบ่อทอง  อำเภอหนองใหญ่  อำเภอบางละมุง  อำเภอสัตหีบ  และอำเภอเกาะสีชัง