วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ





วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ



           เกษตร  อุตสาหกรรม  และท่องเที่ยว  สิ่งนี้อาจสะท้อนคุณลักษณะเมืองชล   กอปรกับทรัพย์ในดินสินในน้ำ  ต่างช่วยกันเอื้ออำนวยให้การพัฒนาในด้านต่างๆ  เป็นไปอย่างสะดวกราบรื่นและต่อเนื่อง   ทว่าเมื่อพูดถึงผู้คนพื้นถิ่นจริงๆของชลบุรีแล้ว  จะพบว่าคนชลบุรีมีอาชีพผูกพันอยู่กับท้องทะเล  นาไร่  ทำปศุสัตว์  และทำเหมืองแร่  โดยลักษณะนิสัยของคนเมืองชลดั้งเดิมได้ชื่อว่าเป็นคนจริง  ใช้ชีวิตเรียบง่าย  ประหยัดอดออม  เอาการเอางาน  หนักเอาเบาสู้  มีความเป็นมิตร  และพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนเสมอ  แม้ทุกวันนี้สภาพบ้านเมืองของชลบุรีจะเจริญรุดหน้าไปมาก  อีกทั้งมีผู้คนต่างถิ่นโยกย้ายเข้ามาอาศัยผสมกับชนดั้งเดิม  ทว่าคนเมืองชลก็ยังคงรักษาประเพณีอันดีงามของตนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น  สะท้อนออกมาในรูปแบบงานเทศกาลประจำปีต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นงานบุญกลางบ้านและงานเครื่องจักสานพนัสนิคม  งานประเพณีวันไหล  ในช่วงหลังวันสงกรานต์  งานประเพณีกองข้าว งานประเพณีวิ่งควาย รวมถึงงานแห่พระพุทธสิหิงค์และงานกาชาดชลบุรี  เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความโดดเด่นของคนชลบุรีได้อย่าง
           คนเมืองชลมักเดินทางไปที่เขาสามมุข  เพื่อสักการะและขอพรจากเจ้าแม่สามมุข  บริเวณเขาสามมุขซึ่งไม่ห่างจากหาดบางแสนและอ่างศิลา  สองตัวอย่างนี้คือความเชื่อของชาวจีนที่ผสานรวมเป็นเนื้อเดียวกับความศรัทธาท้องถิ่น  จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

          ชลบุรีเป็นย่านชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก คนจีนในชลบุรีส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ซึ่งเชี่ยวชาญการค้าและมีบทบาทสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจ  ประมง  อุตสาหกรรม เกษตรกรรม  และเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 2-3) อยู่แถบชายทะเลเมืองบางปลาสร้อย ทำการค้าและประมงอย่างกว้างขวางจนมีเหลือส่งออกไปยังต่างประเทศ อีกทั้งเป็นผู้นำอ้อยเข้ามาปลูก และริเริ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายแถบอำเภอบ้านบึง  อำเภอพานทอง และอำเภอพนัสนิคม  ส่วนคนจีนที่อพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 มักทำอาชีพปลูกผักและเลี้ยงเป็ดอยู่ในบริเวณเดียวกัน  สำหรับชนชาวลาวนั้นอพยพเข้ามาช่วงรัชกาลที่ มีอาชีพทำไร่ ทำนา  และมีความสามารถพิเศษในการทำหัตถกรรมจักสาน ส่วนชาวมุสลิมอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันมีอาชีพทำสวนผลไม้  ไร่มันสำปะหลัง  และค้าขายในตลาด  เป็นกลุ่มที่เคร่งครัดในประเพณีและศาสนา




ประวัติ ของจังหวัดชลบุรี





ประวัติ ของจังหวัดชลบุรี




                                 จังหวัดชลบุรีเคยเป็นชุมชนโบราณที่เคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าเคยมีการขุดค้นด้านโบราณคดีแล้วพบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพานทองซึ่งอยู่ในบริเวณวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีตพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และ เมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
                 ซึ่งแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบในครั้งนั้นได้พบสิ่งมีคุณค่าทางโบราณคดีหลายอย่าง เช่น ขวานหินขัด เครื่องประดับจำพวกกำไล ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผาแบบใช้เชือกทาบ และได้พบซากของอาหารทะเลอีกด้วย จึงทำให้ทราบว่าบริเวณนี้อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลมากกว่าปัจจุบันนี้มาก แหล่งโบราณคดีที่กล่าวอ้างทั้งหมดข้างต้นนั้นจึงเป็นหลักฐานยืนยันส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแสนยาวนานของจังหวัดชลบุรี
               ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินาหัวเมือง ตราเมื่อ พ.ศ. 1919 มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองคือ ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทรศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จยกทัพผ่านมาทางบริเวณจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรี และยกทัพกลับไปกู้กรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดชลบุรีขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองบางปลาสร้อย เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
         ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชลบุรีจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ดังมีบันทึกว่า
รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่    

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม



เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม


รูป โครงสร้างเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม


โครงสร้างและหน้าที่
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            1) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ 
                1.1 ไม่มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของ ER
                1.2 มีหน้าที่สร้างไขมัน อันได้แก่ ฟอสโฟลิปิด ฮอร์โมนเพศและสเตรอยด์ฮอร์โมน
                1.3 เป็นที่สำหรับเก็บ Ca2+
                1.4 มีหน้าที่ในขบวนการ เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
                1.5 มีเอนไซม์สำหรับทำลายพิษของยา
                1.6 พบมากที่ ลูกอัณฑะ (teste) รังไข่ (ovary) และผิวหนัง (skin) 
             2) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ 
                2.1 มีไรโบโซม เกาะอยู่บนผิวของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
                2.2 เป็นที่สำหรับให้สายของโพลีเพปไทด์ ที่จะถูกส่งออกนอกเซลล์มีการพับ ไปสู่รูปร่าง 3 มิติ ที่ถูกต้องก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังกอลจิแอพพาราตัส 
                2.3 เป็นที่สำหรับเติมคาร์โบไฮเดรต (โอลิโกแซคคาไรด์) ให้กับโปรตีนที่จะถูก ส่งออก นอกเซลล์ซึ่งก็คือไกลโคโปรตีน 
                2.4 โปรตีนที่จะออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม นั้นจะถูกห่อด้วย เยื่อหุ้มของ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกลายเป็นถุงเล็ก ๆ หลุดออกจากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม



อินเตอร์มีเดียท ฟิลาเมนต์ (intermediate filament)



อินเตอร์มีเดียท ฟิลาเมนต์ (intermediate filament)


รูป เส้นใยอินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์


โครงสร้าง
               1. เป็นเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดใหญ่กว่าไมโครฟิลาเมนต์ แต่เล็กกว่าไมโครทูบูล 
               2. ประกอบด้วยโปรตีนที่อยู่ในกลุ่มเคอราติน (keratin family)


หน้าที่
               1. ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์อินเตอร์ มีเดียท ฟิลาเมนต์ ทนต่อแรงดึงภายนอก เช่นเดียวกับ         ไมโครฟิลาเมนต์
               2. ช่วยยึดออร์แกเนลล์ บางอย่างให้อยู่กับที่ เช่น นิวเคลียสถูกยึดให้อยู่ในกรงที่ทำด้วย         อินเตอร์ มีเดียท ฟิลาเมนต์
               3. สร้าง นิวเคลียร์ลาร์มินาร์ (nuclear larninar)



สารโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton)



สารโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton)

รูป สารโครงร่างเซลล์


โครงสร้าง
               1. เป็นร่างแห ตาข่ายของเส้นใยโปรตีนที่แผ่ขยายปกคลุมอยู่ทั่วไซโทพลาซึม
               2. ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ โดยทำให้เซลล์ทนต่อแรงอัดจากภายนอก
               3. เส้นใยโปรตีนที่ประกอบเป็นสารโครงร่างเซลล์ มี 3 ชนิด คือ ไมโครทูบูล ไมโครฟิลาเมนต์ และอินเตอร์มีเดียทฟิลาเมนต์


แวคิวโอล (vacuole)



แวคิวโอล (vacuole)

รูป แวคิวโอลภายในเซลล์พืช


โครงสร้าง
               เป็นถุงขนาดใหญ่ที่พบมากในเซลล์พืช


หน้าที่
              1. แวคิวโอล ในเซลล์พืชทำหน้าที่เก็บน้ำ น้ำตาล เกลือ เม็ดสี (pigment) และสารพิษบางชนิด เพื่อป้องกันพืชจากสัตว์กินพืชเป็นอาหาร
              2. แวคิวโอล ในโปรโทซัวได้แก่ แวคิวโอลที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร(digestive vacuoles)หรือ แวคิวโอลที่ทำหน้าที่เก็บอาหาร (food vacuoles)




ไลโซโซม (lysosome)



ไลโซโซม (lysosome)



รูป การสร้างไลโซโซมจากกอลจิแอพาราตัส


โครงสร้าง
               เป็นถุงที่บรรจุ เอนไซม์ไฮโดรไลซ์ (hydrolytic enzyme) สำหรับย่อยโปรตีน ไขมัน
พอลิแซคคาไรด์ และกรดนิวคลีอิก- pH ใน ไลโซโซม เท่ากับ 5 ซึ่ง เอนไซม์ไฮโดรไลซ์ ทำงานได้ดีที่สุดซึ่ง pH ในไซโทพลาสซึมเท่ากับ 7 - เอนไซม์ไฮโดรไลติก สร้างใน ER และส่งมายังไลโซโซมโดยผ่านทางกอลจิแอพพาราตัส

หน้าที่
        1) การย่อยสลายภายในเซลล์ (intracellular digestion) 
              1.1 การโอบกลืน(phagocytosis) เช่น การย่อยเซลล์แบคทีเรียที่ถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาว 
              1.2 การย่อยสลาย แมคโครโมเลกุล (macromolecule)
              1.3 การทำลาย ออร์แกเนลล์ ที่เสื่อมสภาพในเซลล์ (autophagy) 
        2) มีหน้าที่ใน กระบวนการทำลายเซลล์ที่หมดอายุหรือหน้าที่ (programmed destruction) เช่นในการเปลี่ยนรูปร่างของลูกอ๊อด เป็นกบ โดยไลโซโซมในเซลล์หาง ลูกอ๊อด จะทำลายส่วนหางให้หายไปขณะ เจริญเติบโตเป็นกบหรือ การหายไป ของพังผืด ระหว่างนิ้วมือของมนุษย์



ไรโบโซม




ไรโบโซม

รูป ไรโบโซมในไซโทพลาสซึมและที่เกาะบน ER


โครงสร้างและหน้าที่
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 นาโนเมตร
               1. ประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย คือ หน่วยใหญ่ (60 S) และหน่วยเล็ก (40 S) ซึ่งสร้างขึ้นจาก rRNA และ โปรตีน 
              2. สร้างในนิวคลีโอลัส 
              3. เป็นที่สร้างโปรตีน 
              4. มี 2 ชนิด คือ
                  1) ไรโบโซมที่อยู่เป็นอิสระใน ไซโทพลาซึม(ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่อยู่ใน ไซโทพลาสซึม)
                  2) ไรโบโซม ที่ติดอยู่บนร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (ทำหน้าที่สร้างโปรตีน อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ และโปรตีนที่จะถูกส่งออกไปยังนอกเซลล์



เยื่อหุ้มเซลล์




เยื่อหุ้มเซลล์

โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์


โครงสร้าง
             1. ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหันส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
             2. องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหัน ส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
             3. องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด


หน้าที่
             1. ห่อหุ้มของเเหลวและออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่เอาไว้
             2. ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่ สิ่งแวดล้อม 
             3. เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ 
             4. เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิดการประสานระหว่าง 

แมทริกซ์นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น

ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)




ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)


รูป โครงสร้างไมโทคอนเดรีย


โครงสร้าง

              1. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-10 ไมโครเมตร
              2. ถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น 
              3. เยื่อหุ้มชั้นนอก (outer membrane ) มีลักษณะผิวเรียบ โมเลกุลขนาดเล็ก สามารถผ่านได้ แต่โมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านได้
              4. เยื่อหุ้มชั้นใน (inner membrane) ผนังเยื่อหุ้มจะพับเป็นรอยจีบยื่นเข้าไปข้างในเรียกว่า คริสตี(cristae) ห่อหุ้มของเหลวที่เรียกว่า แมทริกซ์ (matrix)ไว้
              5. ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นใน และ เยื่อหุ้มชั้นนอก เรียกว่า ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ 
(intermembrane space) 
              6. คริสตีและแมทริกส์มีเอนไซม์ สำหรับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)และ เป็นที่สังเคราะห์ ATP
              7. มีไรโบโซม และDNAเป็นของตัวเอง
              8. มีจำนวนเพียง 1 อัน หรือ เป็นหลาย ๆ พันในเซลล์ เช่น ในเซลล์ตับ จะมีไมโทคอนเดรียมากถึง 2,500อันต่อเซลล์
             9. ไมโทคอนเดรียภายในเซลล์ปกติจะมีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงรูปร่าง และเพิ่ม จำนวนของตัวมันเอง


หน้าที่

                เป็นที่สำหรับการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) คือ กระบวนการที่พลังงานเคมีของ คาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยน เป็น ATP ซึ่งเป็นตัวให้ พลังงานภายในเซลล์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

C6H12O6 + O2 CO2 + H2O + พลังงาน


วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ไมโครฟิลาเมนต์ (microfilament or actin filament)



ไมโครฟิลาเมนต์ (microfilament or actin filament)


รูป ไมโครฟิลาเมนต์ (สีเขียว) ช่วยคงรูปร่างของเซลล์


รูป เส้นใยไมโครฟิลาเมนต์


โครงสร้าง
               1. เป็นเส้นใยขนาดบาง และยาวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 นาโนเมตร
               2. ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม ชื่อว่า แอคทิน (actin) โดย ไมโครฟิลาเมนต์ 1 เส้น ประกอบด้วย 2 สายของแอคทิน ที่พันกันเป็นเกลียว
หน้าที่
               1. ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์ โดยไมโครฟิลาเมนต์จะทำให้เซลล์ทนต่อแรงดึง
               2. มีบทบาทสำคัญในการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ โดยมีไมโอซิน เป็น มอเตอร์ โมเลกุล (motor molecule)
               3.  เป็นส่วนประกอบใน ไมโครวิลไล (microvilli) ของ เซลล์บุผิวภายในลำไส้ (intestinal cell) ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ผิวให้แก่เซลล์บุผิวภายในลำไส้
                มีบทบาทในการเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoeboid movement) ของเซลล์ และทำให้เกิดรอยแยก สำหรับเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว
               4. เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของไซโทพลาซึม ในเซลล์พืช (cytoplasmic streaming)




ไมโครทูบูล (microtubule)


ไมโครทูบูล (microtubule)

รูป ท่อไมโครทูบูล


โครงสร้าง

               1. ไมโครทูบูล (microtubule) เป็นแท่งกลวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 นาโนเมตร ยาว 200 นาโนเมตร – 25 นาโนเมตร
               2. ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม (globular protein) ชื่อว่าทูบูลิน (tubulin) ซึ่งมี 2 หน่วยย่อย คือ แอลฟาทิวบูลิน (alpha – tubulin) และบีตาทูบูลิน (beta – tubulin)
               3. เซนโทรโซม (centrosome) เป็นศูนย์ควบคุมการประกอบไมโครทูบูล ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับนิวเคลียส ภายในบริเวณ เซนโทรโซมจะพบเซนทริโอล จำนวน 1 คู่ เซนทริโอล 1 อัน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ประกอบด้วยท่อไมโครทูบูล 3 ท่อ จำนวน 9 ชุด มาเรียง ตัวกันเป็นวงแหวน ตรงกลางไม่มีท่อทูบูลิน เรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า 9 + 0 
               4. เซนทริโอล คู่นี้ จะวางตั้งฉากกันและเกี่ยวข้องกับการแยกโครโมโซมระหว่างการ แบ่งตัวของเซลล์
               5. เซนโทรโซม ในเซลล์พืชส่วนใหญ่ไม่มีเซนทริโอล




รูป การจัดเรียงตัวของไมโครทูบูลในแฟลเจจลาและเบซัลบอดี ที่มีโครงสร้างคล้ายเซนทริโอล


หน้าที่ของ ไมโครทูบูล

                  1. ช่วยรักษารูปร่างของเซลล์ ไมโครทูบูล เปรียบเสมือนแท่งเหล็กที่ทนต่อแรงอัดภายนอก
                  2. ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของซิเลีย และแฟลเจลลา ซึ่งส่งผลให้เซลล์ที่มีซิเลีย หรือแฟลเจลา เป็นส่วนประกอบเกิดการเคลื่อนที่ได้ (ไมโครทูบูลในซิเลีย และแฟลเจลลา จะมีการเรียงตัวแบบ 9+2 ซึ่งประกอบด้วยไมโครทูบูล 2 ท่อ จำนวน 9 ชุด จัดเรียงตัว เป็นวงแหวนโดยตรงกลาง มีท่อไมโครทูบูลจำนวน 2 ท่อวางอยู่
                  3. ช่วยในการแยกโครโมโซมระหว่างเซลล์กำลังแบ่งตัว 
                  4. ช่วยในการเคลื่อนที่ของออร์แกเนลล์



เพอโรซิโซม (peroxisome)


เพอโรซิโซม (peroxisome)

รูป ถุงเพอโรซิโซมภายในเซลล์
โครงสร้าง

              1. พบมากที่เซลล์ตับ

              2. เป็นถุงที่บรรจุ เอนไซม์ออกซิไดซ์ (oxidizing enzyme) ที่ทำหน้าที่ย้ายไฮโดรเจนจากสาร ต่าง ๆ ไปให้แก่ออกซิเจนทำให้เกิดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2)
หน้าที่

              1. ทำลายสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์

              2. ทำลายไขมัน
              3. ทำลาย H2O2 ที่เกิดขึ้นในเพอโรซิโซม โดยเปลี่ยนเป็น H2O ด้วยเอนไซม์แคตาเลส 



พลาสติด (Plastid)




พลาสติด (Plastid) 
คือ เม็ดสีในเซลล์ เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม  2 ชั้น พบได้ในเซลล์พืชและสาหร่ายทั่วไปยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในโพรโทซัว พบเฉพาะในพวกที่มีแส้ เช่น ยูกลีนา วอลวอกซ์พลาสติด จำแนกได้  3 ชนิด  ได้แก่ คลอโรพลาสต์  โครโมพลาสต์ และลิวโคพลาสต์       
คลอโรพลาส 
 เป็นพลาสติดที่มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟีลล์เป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ เป็นแหล่งสร้างอาหารของพืชและโพรติสต์บางชนิด ภายในมีโครงสร้างคล้ายถุงแบน ๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ และไทลาคอยด์จะเรียงซ้อนกันเป็นตั้งเรียกว่า กรานุม แต่ละกรานุมมีโครงสร้างเชื่อมต่อถึงกัน บนไทลาคอยด์มีสารสีที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลอโรฟีลล์  แคโรทีนอยด์ และมีของเหลวที่เีรียกว่า สโตรมา อยู่รอบไทลาคอยด์ ในสโตรมามีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  



ผนังเซลล์ (cell wall)

ผนังเซลล์ (cell wall)

           ผนังเซลล์เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา
(ไม่พบในเซลล์สัตว์ ) 
  ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลส
ซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิต
         
เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส เช่น เฮมิเซลลูโลส  เพกทิน
ซูเบอริน คิวทิน ลิกนิน

         
ผนังเซลล์มัีกยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าออกสะดวก  มีช่องเล็ก ๆ ติดต่อระหว่างเซลล์
เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)




ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้น คือ
    1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นเชื่อมระหว่างเซลล์
ให้อยู่ติดกัน โดยมีสารพวก แคลเซียมเพกเทต แมกนีเซียมเพกเทต ลิกนินสะสมอยู่บ้าง
    2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ เกิดเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
เซลล์เนื้อเยื่อเจริญ เช่น แคมเบียมจะมีผนังเซลล์แบบปฐมภูมิเท่านั้น
    3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ เกิดเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาด โดยมีสารพวก เซลลูโลส ซูเบอริน ลิกนิน
และเพกทินมาเกาะ เช่น เซลล์ไฟเบอร์ เทรคีด  เวสเซล

นิวเคลียส


นิวเคลียส

รูป องค์ประกอบของนิวเคลียส
โครงสร้าง

             1 .ใมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร
             2 .ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ 2 ชั้น ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ทำให้ส่วนประกอบ ในนิวเคลียสถูกแยกออกจากส่วนของไซโทพลาซึม 
             3. บน เยื่อหุ้มนิวเคลียส มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สำหรับการผ่านเข้าออกของโปรตีน และหน่วยย่อยของไรโบโซม (ribosomal subunit) 
             4. ภายในนิวเคลียสมีเส้นใยโครมาทิน ซึ่งประกอบด้วย DNA และโปรตีน 
             5. เมื่อเซลล์เตรียมที่จะแบ่งตัว เส้นใยโครมาทินจะหดสั้น ทำให้กลายเป็นแท่งหนา เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) สามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 
             6. โครงสร้างภายใน นิวเคลียสที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ขณะนิวเคลียสยังไม่แบ่งตัวคือ นิวคลีโอลัส (nucleolus) นิวคลีโอลัส มีรูปร่างกลมถูกย้อมสีเข้ม เป็นที่สำหรับสร้าง ไรโบโซม โดยทำการประกอบ RNA เข้ากับโปรตีน

หน้าที่

              1. เป็นที่ที่ DNA บรรจุอยู่ 
              2. ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน (โดยการสังเคราะห์ mRNA และ ส่งออกไปยังไซโทพลาสซึม  ทางรู ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear pores ) ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนด คุณลักษณะของเซลล์นั้น ๆ




ไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton)


ไซโทสเกเลตอน (cytoskeleton)
         เป็นเส้นใยโปรตีนที่เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหเพื่อค้ำจุนรูปร่างของเซลล์และเป็นที่ยึดเกาะ
ของออร์แกเนลล์  เช่น คลอโรพลาสต์ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
ให้อยู่ตามตำแหน่งต่าง ๆ เปรียบได้กับโครงกระดูกของเซลล์
อีกทั้งลำเลียงออร์แกเนลล์ให้เคลื่อนที่ภายในเซลล์

ไซโทสเกเลตอนแบ่งได้  3  ชนิด ตามชนิดของหน่วยย่อยที่เป็นองค์ประกอบได้แก่
ไมโครฟิลาเมนท์ (microfilament) หรือ แอกทินฟิลาเมนท์ (actin filament)
       เป็นเส้นใยโปรตีนที่เกิดจากโปรตีนแอกทินที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นาโนเมตรต่อกัน
เป็นสาย 2 สาย พันบิดกันเป็นเกลียว ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ เช่น
อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาว
       ทำหน้าที่  ค้ำจุน พบได้ในไมโครวิลไลของเยื่อบุผิวในลำไส้เล็ก และช่วยในการแบ่งตัว
ของไซโทพลาซึมในกระบวนการแบ่งเซลล์



ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม



เป็นของเหลวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดรวมทั้งส่วนที่เป็นออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ปฏิกิริยาเคมีหลายอย่างของเซลล์เกิดขึ้นที่ออร์แกเนลล์เหล่านี้ ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืช ได้แก่คลอโรพลาสต์และแวคิวโอล  ส่วนออร์แกเนนล์ที่พบ เฉพาะเซลล์สัตว์คือ เซนทริโอล  ส่วนออร์แกเนลล์ ที่พบได้ทั้งในเซลล์พืชและสัตว์ เช่น ร่างแหเอนโดพลาซึม  กอลจิบอดี และไมโทคอนเดรีย


เซนโทโซมและเซนทริโอล


เซนโทรโซม (Centrosome)


 เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก พบในเซลล์สัตว์ทุกชนิดและพบในพวกโปรตีสต์บางชนิด ถ้ามีลักษณะ 2 อัน วางตั้งฉากกันจะเรียกว่า เซนโทรโซม (centrosome) ซึ่งแต่ละอันจะประกอบด้วย ไมโครทูบูล (microtubule) โดยมีโครงสร้างแบบ 9+0 (9+0=27) มีหน้าที่ในการแบ่งเซลล์ของสัตว์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโครโมโซมโดยการสร้างเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) หรือเส้นใยไมโทติก (mitotic spindle)


เซนทริโอล (centriole) 

เป็นส่วนที่อยู่ใกล้นิวเคลียส พบในเซลล์สัตว์ และโพรทีสต์บางชนิด มีขนาดเล็ก ใส มีรัศมีแผ่ออกมาโดยรอบมีรูปร่างคล้ายท่อทรงกระบอก ในแต่ละเซลล์จะมีเซนทริโอล 2 อัน เรียงในลักษณะตั้งฉากกัน หน้าที่ของเซนทริโอล คือ ช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในขณะที่มีการแบ่ง เซลล์ ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด