มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ บอดี กอลจิ แอพพาราตัส ดิกไทโอโซม เป็นออร์แกเนลล์
ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ นักชีววิทยาชาวอิตาลี ซึ่งพบกอลจิ
คอมเพล็กซ์ในปี พ.ศ. 2423 โดยการศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนลล์นี้
ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง ในปี พ.ศ. 2499
กอลจิบอดี
มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna
หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ
หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก
ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ
กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ มีกระดูกสันหลัง
มากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ
เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต
จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม
กับซิสเทอร์น่า ทำให้ขนาด ของซิสเทอร์น่า แต่ละอันเพิ่มขึ้น และในบริเวณช่องว่าง
ของซิสเทอร์น่า จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างของสารใหม่ต่างๆ ที่กอลจิบอดี
ดูดซึมเอาไว้ให้เป็นสารอื่นได้ ที่ด้านตรงกันข้าม
ของกอลจิบอดีเป็นด้านที่มีการปลดปล่อยสาร ส่วนเวสิเคิลอื่น ซึ่งมีสารใหม่ต่างๆ
อยู่จะถูกขับออกมา บางส่วนของเวสิเคิล เหล่านี้จะรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์
ที่อยู่ติดกับผนังเซลล์ ทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว ของเยื่อหุ้มเซลล์
ในเวสิเคลแต่ละอันนั้น จะมีสารประกอบ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสนับสนุน การเจริญเติบโต
ของผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น