วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

คลอโรพลาสต์ (chloroplasts)


คลอโรพลาสต์ (chloroplasts)
รูป โครงสร้างคลอโรพลาสต์
โครงสร้าง

              1. พบในเซลล์พืช สาหร่าย และ ไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria)
              2. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-5 ไมโครเมตร
              3. คลอโรพลาสต์ เป็น พลาสติด ชนิดหนึ่ง พลาสติด เป็นออร์แกเนลล์ ที่พบในพืช ซึ่งได้แก่ 
                  1) อะไมโลพลาสต์ (amyloplast) เป็นพลาสติด ที่ไม่มีสี พบที่รากและส่วนหัวของพืช ทำหน้าที่เก็บสะสมแป้ง
                  2) โครโมพลาสต์ (chromoplast) มีรงควัตถุ สีแดง และสีส้มบรรจุอยู่ให้สีแดงและสีส้ม แก่ผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง 
                  3) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) มี รงควัตถุ สีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) มีเอนไซม์ และโมเลกุลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง พบในใบและส่วน อื่น ๆ ของพืชที่มีสีเขียว
              4. มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น คือ เยื่อหุ้มชั้นนอก และเยื่อหุ้มชั้นใน
              5. ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย ถุงแบน ๆ ที่เกิดจากเยื่อหุ้มชั้นในเรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) วางซ้อนทับกันอยู่เป็นกอง ๆ ซึ่งแต่ละกอง ของไทลาคอยด์ เรียกว่า กรานัม (granum)ของเหลวที่บรรจุอยู่รอบ ๆ ไทลาคอยด์ เรียกว่าสโตรมา (stroma) ซึ่งจะมี DNA ไรโบโซมของคลอโรพลาสต์ และเอนไซม์ที่ใช้ในการ สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต
              6. คลอโรฟิลล์ อยู่ที่ เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane)

หน้าที่

              1. เป็นที่เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) 
              2. การสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กระบวนการที่พลังงานแสงถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี
คาร์โบไฮเดรต โดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ี้

พลังงานแสง + CO2+ H2O C6H12O6 + O2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น